เจเอ็นอาร์ คลาสซี 58
เจเอ็นอาร์ คลาสซี 58

เจเอ็นอาร์ คลาสซี 58

รถจักรไอน้ำแพรรี่ C58[1] หรือ รถจักรไอน้ำ C58 (JNR Class C58) (ญี่ปุ่น: C58形) ส่วนใหญ่จะเรียกว่า รถจักรไอน้ำ C58 เป็นรถจักรไอน้ำที่สร้างขื้นในประเทศญี่ปุ่น สร้างโดยสมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น นำมาใช้การครั้งแรกของ ประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ. 2489[2] จุดประสงค์หลักของรถจักรไอน้ำในระยะแรกจะใช้โดยกองทัพญี่ปุ่นในมลายู[3] (หรือประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมา รถจักรไอน้ำแพรรี่ทั้ง 4 คัน ประกอบด้วย C58-52, C58-54, C58-130 และ C58-136 จึงขายให้ประเทศไทย โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยตั้งชื่อหมายเลขรถจักรชุดนี้คือ 761 ถึง 764 ตามลำดับ

เจเอ็นอาร์ คลาสซี 58

ระบบห้องขับ มี 1 ห้องขับ,ฝั่ง
น้ำหนัก จอดนิ่ง 100.20 ตัน
ทำงาน 58.70 ตัน
กดเพลา 13.50 ตัน
จำนวนคันทั้งหมด 4 คัน
เริ่มใช้งาน พ.ศ. 2489
ผู้สร้าง สมาคมอุตสาหกรรมรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น, ประเทศญี่ปุ่น
ความเร็วสูงสุด 85 กม./ชม.
หมายเลข 761-764
การจัดวางล้อ 2-6-2 (แพรรี่)
พิกัดตัวรถ
สูง 3,900 มม.
ยาว 18,275 มม.
จำนวนคันที่ถูกตัดบัญชี ทั้งหมด
ชื่อทางการ รถจักรไอน้ำแห่งการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น ชั้น C58
แรงม้า 880 แรงม้า
ชนิด รถจักรไอน้ำ
ระบบห้ามล้อ สุญญากาศ (ลมดูด) (ประเทศไทย)
ลมอัด (ประเทศญี่ปุ่น)
ใช้งานใน ประเทศไทย โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ประเทศญี่ปุ่น โดย การรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น
รวมระยะเวลาใช้งานทั้งหมด 75 ปี